เนื่องในวาระครบรอบ 135 ปีของ Zoltan Kodaly ผู้เป็นทั้งคีตกวีและนักมนุษย์วิทยาทางด้านการดนตรีผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติชาวฮังการี ด้วยเหตุนี้ทางสถานเอกอัครราชทูตฮังการีจึงได้มีการจัดการแสดงดนตรีเปียโนในสวนสาธารณะ รวมทั้ง workshop สอนดนตรีของ Zoltan Kodaly ให้แก่บรรดาเยาวชน ซึ่งมีการใช้หลักการของ Kodaly เข้ามาประกอบการสอนด้วย อีกทั้งหลักการสอนนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันจับต้อง ไม่ได้ของมนุษยชาติแห่งองค์การ UNESCO ซึ่งภายในวันนั้นประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
– วันที่ 27 เมษายน 2560 นักเปียโนชาวฮังการี นาย Marseille ได้เล่นเพลงของ Kodaly ณ บริเวณศาลาภิรมย์ภักดี สวนลุมพินี ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นที่สนใจของประชาชนในละแวกนั้นเป็นจำนวนมาก
– วันที่ 28 เมษายน 2560 นาย Marseille ได้นำบทเพลงของ Kodaly รวมไปถึงวิธีการสอนดนตรีโดยใช้หลักการของ Kodaly ไปสอนนักเรียนผู้กำลังเล่นไวโอลิน, ร้องเพลงประสานเสียง ที่โรงเรียนสอนดนตรีอิมมานูเอล จากการสอนดังกล่าว นักเรียนทุกคนสามารถเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดีอีกทั้ง ยังมีความรู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมไปตลอดจบเวลาอีกทั้งยังสามารถแสดงไวโอลินประกอบเปียโนได้ด้วย
– วันที่ 8 พฤษภาคม 2560 นาย Marseille ได้จัดกิจกรรมสอนดนตรีอันผ่านบทเพลงพื้นบ้านของประเทศฮังการี รวมทั้งทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ ให้แก่นักเรียน STORYTIME PRESCHOOL BANGKOK อีกทั้งยังได้สอนทักษะพื้นฐานในการเต้นรำพื้นเมืองแบบชาวฮังการีอีกด้วย
พบกับคอนเสิร์ต Bela Bartok ครั้งแรกในกรุงเทพมหานคร
สถานเอกอัครราชทูตฮังการี ได้ขอความร่วมมือกับทางจุฬา เพื่อจัดคอนเสิร์ตวาระครบรอบ 135 ปี คีตกวี Bela Bartok ณ หอแสดงดนตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื่องจากคอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ทำการจัดแสดงในกรุงเทพ ทางคณะดนตรีก็เลยได้คัดเลือกเอาผลงานเพลงชิ้นเอกของ Bela Bartok มาบรรเลงให้แก่แขกผู้มีเกียรติได้รับฟัง ไม่ว่าจะเป็นบทเพลงบรรเลงเปียโนเดี่ยวอย่าง Mikrokosmos หรือ การแสดงไวโอลินคู่ระหว่างชาวฮังการีและชาวไทย ซึ่งสอดคล้องเล่นผสมผสานกันได้อย่างดีเยี่ยมในบทเพลง 44 Duos For Two Violins อีกทั้งยังมีการแสดงเพลง String Quartet No. 6 โดยวง The Shounen Thai Quartet และบทเพลง the Miraculous Mandarin วงดนตรีผู้ทำการแสดง คือ Siam Sinfonietta ซึ่งในครั้งนี้เป็นการแสดงแบบเต็มรูปแบบครั้งแรกในประเทศไทย
สถานเอกอัครราชทูตฮังการี ต้องขอแสดงความขอบพระคุณและซาบซึ้งใจต่อจุฬา ที่ได้ทำการเอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดคอนเสิร์ตรวมทั้งยังช่วยประสานงานการจัดการคอนเสิร์ตอีกด้วย ต้องขอบคุณไปถึงอาจารย์สมเถา สุจริตกุล และคณะนักดนตรีจากวงดนตรี Siam Sinfonietta และ Immanuel Children’s Orchestra ที่ได้มาร่วมแสดงดนตรีในครั้งนี้ อีกทั้งนักไวโอลินชาวฮังการี Vilmos Olah ที่เดินทางมาเพื่อเข้าร่วมแสดงโดยเฉพาะ