ประเทศฮังการีพึ่งเปิดประเทศเสรีหลังจากการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ได้ไม่นานมาก ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศ โดยรวมจึงยังคงอยู่ในสภาพยากจน แต่ฮังการีเองก็กำลังทำการเร่งปรับปรุงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศอย่างเต็มกำลัง
ฮังการีเป็นประเทศซึ่งมีทรัพยากรทางธรรมชาติน้อยหากนำมาเทียบกับบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างโปแลนด์หรือสโลวาเกีย ฮังการีมีอัตราคนว่างงานภายในประเทศประมาณร้อยละ 9 รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 10 ซึ่งทางฮังการีเองก็พยายามทำให้อัตราเงินเฟ้อนั้นลดลง แต่มันเป็นไปได้ยากมาก เพราะประชาชนในประเทศพึ่งได้รับอิสรภาพในการใช้จ่าย พวกเขาจึงมีความต้องการอย่างแรงกล้าในการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าแบบวัตถุนิยมตามประเทศโซนยุโรปอื่นๆ
เศรษฐกิจของฮังการีสามารถเติบโตได้เพราะมาจากสินค้าส่งออกรวมถึงการลงทุนของบริษัทขนาดใหญ่ภายในประเทศ ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ค.ศ. 1989 ฮังการีกลับมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วกว่าอีกหลายๆประเทศในโซนยุโรป
ฮังการีได้วางแผนการปฏิรูประบบเศรษฐกิจจากการวางแผนส่วนกลางไปสู่ระบบเสรีนิยมมาตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2535 โดยมีแนวทางสำคัญ ได้แก่ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ, ทำการเปิดเสรีการค้า และการปฏิรูประบบ การเงิน การคลัง ส่วนทางภาคการเกษตร เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตที่จะเป็นการส่งเสริมสินค้าทางเกษตรให้มีกำลังแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้อย่างในกลุ่ม EU ด้วยกัน
ทางรัฐบาลก็ได้มีการควบคุมอัตราเงินแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศไม่ว่าจะในเชิงพาณิชย์หรือไม่ใช่ทางพาณิชย์ตามทั้งนี้เพื่อเป็นการรับประกันว่าประชาชนของฮังการีจะได้รับผลกระทบอย่างน้อยที่สุดจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งยังมีการพลักดันให้มีการขยายการค้ากับกลุ่มประเทศอื่นๆ นอก EU มากขึ้น ยิ่งการค้าของฝั่งเอเชียตะวันออก ซึ่งมีตลาดขนาดใหญ่ ในด้านการสนับสนุนธุรกิจ SME หรือธุรกิจขนาดเล็ก ก็ใช้มาตรการทางภาษี ซึ่งเป็นแบบอัตราเดียวร้อยละ 26 สามารถลดอัตราภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจ ต่างๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวแผนเศรษฐกิจใหม่ ที่มีชื่อว่า Szechchenyi Plan จุดมุ่งหมายของของแผนนี้คือ ทำให้เข้าถึงในกองทุนสหภาพยุโรปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งรัฐบาลจะให้ความสำคัญของสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างแรก เช่น อุตสาหกรรมสุขภาพ เศรษฐกิจสีเขียว การขนส่ง เป็นต้น
การลงทุนของไทยในฮังการี
ในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบธุรกิจอาหารของประเทศไทย เริ่มให้ความสนใจกับฮังการีมากขึ้น เพราะฮังการีในปัจจุบันนี้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สามารถทำให้ผู้คนมีรายได้เยอะพอที่จะจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น ซึ่งถ้าดูจากแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม มูลค่าการส่งออกของฮังการีมีจำนาน 26,322 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 อันดับแรก คือ เครื่องจักรไฟฟ้า, ส่วนประกอบอุปกรณ์สื่อสารยานยนต์, อุปกรณ์ชิ้นส่วนเครื่องจักรสร้างพลังงาน, ยาเภสัชภัณฑ์, เป็นต้น แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งฮังการีก็ยังคงต้องพึ่งพาสินค้าหลายชนิดจากต่างชาติ ซึ่งสินค้า 10 อันดับแรกที่ฮังการีนำเข้ามามากที่สุด คือ เครื่องจักรไฟฟ้า , น้ำมัน , ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ , เครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น